แบบแปลนโรงงานผลิตน้ำดื่ม

แบบแปลนโรงงานผลิตน้ำดื่ม

แบบแปลนโรงงานผลิตน้ำดื่ม ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขหรือ(อ.ย) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำโรงงานผลิตน้ำดื่ม ซึ่งจะต้องถูกและเข้าหลักเกนณ์ แบบโรงงานน้ำดื่ม จะต้องประกอบไปด้วย สิ่งต่างดังต่อไป นี้บริษัทมี โรงงานน้ําดื่มขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ตามงบประมาณของลูกค้า

โรงงานน้ําดื่มขนาดเล็ก

โรงงานน้ําดื่มขนาดเล็ก

แบบโรงผลิตน้ำดื่มdwg

  • พื้นที่ของโรงงานหรือสถานที่ทำงาน ต้องไปแคบ แออัด ทำงานไม่สะดวก
  • พื้นที่ของแต่ล่ะส่วนจะต้องประกอบไปด้วย พื้นที่ วางเครื่อง ห้องบรรจุ เก็บสต๊อกสินค้า เก็บเคมีภันท์ เก็บสินค้า ที่บรรจุเสร็จแล้ว
  • ไม่มีน้ำขึงขัง
  • ห้องน้ำมีกระจกและน้ำยา
  • ห้องบรรจุมี กระจกและ้ำพร้อมผ้ากันเปื้อน
  • มีม่านพลาสติกกันแมลง กั้น

    แบบแปลนโรงงานผลิตน้ำดื่ม

    แบบแปลนโรงงานผลิตน้ำดื่ม

สิ่งที่ต้องเช็คข้อมูลเบื้องต้นก่อน ที่จะเริ่มทำได้คือ

  • ขนาดของพื้นที่ สามารถออกแบบและดัดแปลงได้ ขนาดพื้นที่โรงงาน ควรจะมากกว่า 250 ตารางเมตร ยิ่งมากยิ่งดี..ถ้ามีข้อจำกัดเรื่องขนาดโรงงาน ให้โทรสอบถามได้โดยตรง
  • สถานที่ตั้งโรงงาน ต้องสามารถดูด น้ำบาดาลได้อย่างน้อย 3-8 Qต่อชั่วโมง (ขุดบ่อควรลึกอย่างน้อย 40 เมตร)หรือ มากกว่านี้ยิ่งดี หรือ ใช้น้ำประปาก็ได้ แล้วแต่สะดวก..
  • สามารถขอไฟ 3 เฟส ขนาดของเมนเบรกเกอร์ อย่างน้อย 50แอมป์ ถึง 100แอมป์ ได้ในพื้นที่จะสร้างโรงงาน.
  • ในพื้นที่ สามารถขออนุญาติตั้งโรงงานได้ ขอ รง. ได้ ขนาด 40-80 แรงม้า (สำหรับเฉพาะโรงบรรจุน้ำ ยังไม่รวมถ้าจะทำเป่าขวดในอนาคต)(ต้องไปเช็คที่ กรมโรงงาน ในจังหวัด)
แบบโรงผลิตน้ำดื่มdwg

แบบโรงผลิตน้ำดื่มdwg

ขั้นตอนหลังจากท่านหาข้อมูล ศึกษาความเป็นไปได้ และ ประเมินตลาดแล้ว มีดังต่อไปนี้

  • ติดต่อทางบริษัท เพื่อ เริ่มสำรวจ พื้นที่ วางแปลนโรงงาน และ ทำรายละเอียดเครื่องจักร ที่ต้องการ
    • นำลายละเอียดเครื่องจักร มาเป็นส่วนประกอบในลายละเอียด  การสร้างโรงงาน
    • ผู้ผลิตเครื่องจักร จะต้องสามารถเตรียมเอกสาร เพื่อติดต่อ อย. และออกแบบเปลนการวางเครื่องจักรให้กับลูกค้า
    • ผู้ผลิตเครื่องจักร ส่วนใหญ่ใช้ระยะเวลา 1 เดือนในการผลิตเครื่องจักร ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวน
    • วางตำแหน่งเครื่องจักรให้เหมาะสม ในแบบแปลนการสร้างโรงงาน (สมควรให้ผู้เชี่ยวชาญร่วมออกแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงาน การปฎิบัติงาน และ รองรับโอกาศทางการตลาดจะขยายงานในอนาคต)
  • ติดต่อ อย. ประจำท้องที่ แจ้งจุดประสงค์ ในการทำโรงผลิตน้ำดื่ม ใช้เอกสารที่ผู้ผลิต เครื่องจักร เตรียมให้
  • ส่งน้ำดิบตรวจสอบหาสารปนเปื้อน (เพื่อจะได้จัดเตรีมระบบกรองได้ถูกต้อง)
  • สร้างโรงเรือน
    • สร้าโรงเรือน ตามแบบ มาตราฐาน อย. (ส่วนใหญ่เหมาะกับโรงงานขนาดเล็ก หรือ ครัวเรือน)
    • สร้างโรงงานตามแบบมาตราฐาน อย. บวกกับลายละเอียด ขนาดและจำนวนเครื่องจักร (ส่วนใหญ่เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีผลิตภัณฑ์ต่างๆหลากหลาย เช่น น้ำแร่ น้ำขวด น้ำถ้วย น้ำถัง เป็นต้น)
  • ติดตั้งเครื่องจักร ตามแบบแปลน และ ทดสอบเครื่องจักร
  • นำน้ำที่ผ่านกระบวนการกรอง แบบแปลนโรงงาน พร้อมกรอกแบบฟอร์ม ยื่นขอ อย.
  • ออกแบบ ขวด และ ฉลาก พร้อมกับ ได้รับการตรวจสอบจาก อย.
  • เริ่มผลิตและจำหน่าย

แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม

  • การผลิตน้ำดื่ม สามารถใช้น้ำประปาหรือน้ำบาดาลก็ได้ ในการผลิต
  • ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีปัญหาเรื่องน้ำ คือน้ำประปาไม่ถึง หรือ น้ำประปาเข้าถึงแต่ไม่เพียงพอต่การผลิต ผู้ประกอบการจะต้องขอ อนุญาติการใช้น้ำบาดาลกับกรมทรัพยากรธรณี

ขั้นตอนการขอ อย. เพื่อผลิตน้ำไว้จำหน่าย

  1. ออกแบบอาคารผลิตส่งให้ อย. เพื่อขอคำแนะนำในการก่อสร้าง
  2. นำน้ำที่ใช้ในการผลิตส่งวิเคราะห์เบื้องต้น จากหน่วยงานที่รับวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
  3. ก่อสร้างอาคารผลิตและติดตั้งชุดผลิตน้ำ
  4. จัดหาอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน เช่น หมวก ผ้าคลุม ตาข่าย แถบรัดผม ผ้ากันเปื้อน
  5. ส่งเอกสารยื่นความจำนงขอ อย. (โดยขอแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ อย.)
  6. เจ้าหน้าที่ อย. จะนัดวัน เวลาเข้ามาตรวจสอบอาคารสถานที่ผลิต และเก็บตัวอย่างน้ำที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตและบรรจุขวดพร้อมจำหน่ายให้ทางผู้ประกอบการส่งวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
  7. ส่งผลวิเคราะห์น้ำจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ (ต้นฉบับ) พร้อมเอกสารขออนุญาตเลขที่ อย. ให้แก่เจ้าหน้าที่ อย.

ความหมายของเลขสารบบอาหารการจดทะเบียนอาหาร และการแจ้งรายละเอียดอาหาร
เลขสารบบอาหาร หมายถึง ตัวเลข 13 หลัก ที่ได้รับอนุญาตในส่วนของสถานที่ และ
ผลิตภัณฑ์อาหาร โดยแสดงในเครื่องหมาย
การจดทะเบียนอาหาร หมายถึง การขอรับเลขสารบบอาหาร ของอาหารก าหนดคุณภาพหรือ
มาตรฐาน
การแจ้งรายละเอียดอาหาร หมายถึง การขอรับเลขสารบบอาหารของอาหารที่ต้องมีฉลาก
และอาหารทั่วไป
ความหมายของสถานที่ผลิตอาหาร
สถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน หมายถึง สถานที่ผลิตอาหารที่มีการใช้เครื่องจักร
ก าลังแรงม้าหรือก าลังแรงม้าเปรียบเทียบรวมไม่ถึง 5 แรงม้า และใช้คนงานรวมไม่ถึง 7 คน
โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน หมายถึง โรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.
2535 ที่มีการใช้เครื่องจักรมีก าลังแรงม้าและก าลังแรงม้าเปรียบเทียบรวมตั้งแต่ 5 แรงม้า
ขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
กรณีใดบ้างที่ต้องขออนุญาต
1. การขออนุญาตสถานที่
1.1 การขอตรวจประเมินสถานที่ผลิตและเก็บอาหาร
1.1.1 การขออนุญาตตั้งโรงงานผลิตอาหาร
1.1.2 การขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน
1.2 การขออนุญาตน าหรือสั่งอาหารเข้ามาในราชอาณาจักร
2. การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อขอรับเลขสารบบอาหาร
2.1 การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารควบคุมเฉพาะด้วยแบบ อ.17 หรือ แบบ สบ.3 และผลิตภัณฑ์เสริม
อาหารที่มีส่วนประกอบนอกเหนือจากที่ก าหนดในบัญชีรายชื่อที่ส านักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ก าหนดด้วยแบบ สบ.3
2.2 การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการจดทะเบียนอาหาร แบบ สบ.5
2.3 การขออนุญาตผลิตภัณฑ์อาหารด้วยการจดทะเบียนอาหาร และแจ้งรายละเอียดอาหาร แบบ สบ.7

    มองหาที่ปรึกษา จะใช้น้ำอะไรในกระบวนการผลิตน้ำดื่ม อยากทราบแผนการตลาด งบประมาณในการลงทุน ยื่นกู้ธนาคารได้หรือไม่ อยากดูระบบการผลิตจริง ก่อนที่จะลงทุนธุรกิจน้ำดื่ม ทั้งหมดนี้โปรดอย่าลังเลที่จะติดต่อเรา  บริษัท ทีทีวอเตอร์เทค จำกัด รับติดตั้งโรงงานผลิตน้ำดื่ม  84 ถนน ไทยรามัญ แขวง คลองสามวาตะวันตก เขต คลองสามวา กรุงเทพมหานคร 12150 ลูกค้าสามารถมาเยี่ยมชมหรือดูสินค้าที่ร้านได้ทุกวัน  ผลิตและจำหน่ายโดยบริษัท ทีทีวอเตอร์เทค จำกัดต้องการสอบสินค้าหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่   064-172-3819 02-009-1978