เครื่องผลิตแสงยูวี UV

1,300 บาท

คำอธิบาย

ULTRAVIOLET/UV(วัตต์) 
หลอดซิลเทีย, อควา, โมริตะ หรือเทียบเท่า
ราคาส่ง 3 เครื่อง (บาท/เครื่อง) ราคาปลีก (บาท/เครื่อง) ค่าจัดส่งถึงสถานที่ (บาท/เครื่อง)
6 วัตต์ 1,200 1,300 500 บาท
8 วัตต์ 2,500 2,600
15 วัตต์ 3,700 3,900
20 วัตต์ 4,700 4,900
30 วัตต์ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว) 6,300 6,500
30 วัตต์ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว) 6,500 65,00
40 วัตต์ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 3 นิ้ว) 7,300 7,500
40 วัตต์ (เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว) 7,600 7,600
120 วัตต์ (หลอด GE หรือเทียบเท่า) 20,000 21,500
160 วัตต์ (หลอด GE หรือเทียบเท่า) 27,500 28,000

* การจัดส่งจะทำการแพ็คกันกระแทก และแยกหลอดยูวีเรียบร้อยแล้ว

ULTRAVIOLET
(วัตต์)
ขนาด
กว้าง x ยาว x สูง x หนา
(มิลลิเมตร)
อัตราการกรอง 
(ลิตร/ชม.)
สแตนเลส Power Supply Cediment ท่อน้ำเข้า – ออก 
(นิ้ว)
ความดันที่ใช้งาน 
(กก./ตร.ซม.)
6 W 62.5x300x150x1.2 100-500 304 220V.50Hz AC. 245NM 1/2″ 1-3
8 W 625x350x150x1.2 300-400 304 220V.50Hz AC. 245NM 1/2″ 1-3
15 W 100x500x200x1.2 600-1200 304 220V.50Hz AC. 245NM 3/4″ 1-3
20 W 100x652x200x1.2 1000-1800 304 220V.50Hz AC. 245NM 3/4″ และ 1″ 1-3
30 W 75x960x200x1.2 3000-4500 304 220V.50Hz AC. 245NM 1″ 1-3
30 W 100x960x200x1.2 3000-4500 304 220V.50Hz AC. 245NM 1″ 1-3
40 W 75x1260x200x1.2 6000-7500 304 220V.50Hz AC. 245NM 1″ 1-3
40 W 100x1260x200x1.2 6000-7500 304 220V.50Hz AC. 245NM 1″ 1-3

เครื่องผลิตแสงยูวี 80 – 160 วัตต์ (รูปทรงขาตั้งอาจเปลี่ยนแปลง ได้ตามการใช้จริงของลูกค้า)

หลอดไฟพิเศษในการฆ่าเชื้อโรค (UV. Germicical Lamp for Dis-infection)

นายอุดม สิทธิการุณ
กรรมการบริหาร สมาคมไฟฟ้าแสงสว่างแห่งประเทศไทย, http://www.TIEA.net
กรรมการผู้จัดการ บริษัทสาธิต เอ.วี.แอล.ซัพพลายส์จํากัด, savl@loxinfo.co.th

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหลอดพิเศษต่างๆ

หลอดพิเศษต่างๆ ในที่นี้ หมายถึง หลอดไฟที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทําให้เกิดแสงที่ตาคนปกติมองเห็น(Visible Light) แต่เป็นหลอดที่ให้ :

  1. รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation : IR)
  2. รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation)

รังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation : IR)

รังสี I.R. เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ตาคนมองไม่เห็น แต่รับรู้ได้ในรูปของความร้อน การแผ่รังสีอินฟราเรด เป็นหนึ่งในสามวิธีของการเดินทางของความร้อน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เราแบ่งแยกเป็น

  1. IR คลื่นสั้น ความยาวคลื่นตั้งแต่ 780 – 1400 nm
  2. IR คลื่นกลาง ความยาวคลื่นตั้งแต่ 1400 – 3000 nm
  3. IR คลื่นยาว ความยาวคลื่นตั้งแต่ 3000 – 10000 nm

ความยาวคลื่น(Wave length) มีหน่วยนับเป็นนาโนเมตร (1 Nano-Meter = 10-9 Meter) และมีค่าผกผันกลับของค่าความถี่ (Frequency)

รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet Radiation : UV)

เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สั้น ช่วงต่อจากแสงสีม่วง (ระหว่างVisible Spectrum กับ X-ray) เป็นรังสีที่ตาคนมองไม่เห็น และไม่สามารถรับรู้ได้อย่างคลื่นรังสีอินฟราเรด(IR) เราแบ่งเป็นสามประเภท ดังนี้

  1. UV-A ช่วงความยาวคลื่น 315 – 380 nm เป็นรังสี UV ที่ไม่ค่อยมีอันตรายมากนัก สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์ได้หลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านเคมี, ฟิสิกส์
  2. UV-B ช่วงความยาวคลื่น 280 – 315 nm มีผลต่อร่างกายและสิ่งของได้ ก่อให้เกิดการไหม้ของผิวหนัง(Sunburn or Erythematic) และการอักเสบของตาดำได้ แต่มีคุณประโยชน์ในการรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ รวมถึงการประยุกต์ในงานอุตสาหกรรมเคมี
  3. UV-C ช่วงความยาวคลื่น 100 – 280 nm เป็นรังสีที่มีอันตรายต่อร่างกายได้อย่างรุนแรง เช่น ผิวแดงไหม้เกรียม (Erythema) หรือ เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) ซึ่งเราประยุกต์มาทำประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคได้

** รังสีUV ทุกชนิด ควรระวังไม่ควรให้ถูกผิวหนังหรือตา อย่างต่อเนื่อง **

ประโยชน์ของหลอดไฟอัลตราไวโอเลต (UV Lamps)

  1. การเร่งปฏิกิริยาเคมีด้วยแสง (Photochemical Process)
    • การทำให้อยู่ตัวหรือแข็งตัวโดยวิธีโพลีเมอไรเซชั่น (Curing & Hardening by Polymerization) ทำให้หมึก, สี, แล็คเกอร์นั้นแห้งภายในระยะเวลาสั้นๆ จึงทำให้ผลิตสินค้าได้รวดเร็วขึ้น และมีต้นทุนถูกลงได้
    • การทำเพลท (Plate)
  2. การตรวจและวิเคราะห์ชิ้นงาน (Detection, Inspection and Analysis) เช่น
    • การตรวจดูเส้นด้ายและความเรียบร้อยในการทอผ้า
    • ตรวจผลิตภัณฑ์เคมี ว่าเป็นชนิดใด
    • ตรวจหาเชื้อราในผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะเชื้อราบางชนิดมองเห็นได้ชัดในรังสี UV
    • ใช้วิเคราะห์แร่ธาตุต่างๆ
    • ตรวจลายเซ็น, ตรวจธนบัตร, ตรวจบัตรเครดิต
    • การออกแบบแสง (Decorative and Special Lighting Application) ให้เกิดความแปลกตา หรือสวยงาม (Luminescence purposes)
    • วิเคราะห์ลายนิ้วมือ หรือ การเคลือบพื้นผิววัตถุ
  3. การฆ่าเชื้อโรค(Disinfection) ด้วยหลอดให้แสง UV-C ที่มีความยาวคลื่น 253.7 nm เราเรียกหลอดนี้ว่า UVGI (Ultra-violet Germicidal Irradiation)
  4. ล่อแมลง (Insect Trap) เช่น จับไปขาย, ทํ าลายทิ้ง, ล่อออกไป
  5. รักษาโรคผิวหนัง
  6. การถ่ายเอกสาร ถ่ายพิมพ์เขียว

ในทางปฏิบัติ การฆ่าเชื้อโรคด้วยการฉายรังสี UV-C ขึ้นกับสององค์ประกอบหลัก คือ

  1. ความลึกในการแทรกซึม (Depth of Penetration) ของรังสี UV-C ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมาก เนื่องจากรังสี UV มีขีดจำกัดในการแทรกซึมผ่านวัตถุ (ยกเว้นน้ำและของเหลวบางชนิด) เพราะผิวชั้นนอกของวัตถุ จะดูดซับรังสีเอาไว้
  2. อันตรายจากรังสีต่างๆ (Possible Hazardous Effects of Such Radiation) ผู้ที่รับการฉายรังสีไม่ควรได้รับรังสีมากไปแต่อย่างไรก็ดี การใช้รังสีUV-C ซึ่งได้จากหลอดฆ่าเชื้อโรคนั้น ก็มีข้อควรสังเกต ดังนี้ :
    • UV-C ต้องถูกเชื้อโรคโดยตรงเท่านั้น ถ้าเชื้อโรคซ่อนอยู่ในเงาของวัตถุ เชื้อโรคนั้นจะไม่ตาย
    • UV-C จะต้องถูกเชื้อโรคเป็นระยะเวลานานพอ (นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรค) จึงจะสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ ซึ่งเชื้อโรคบางชนิดทนต่อรังสี UV-C ได้นานมาก
    • UV-C ถูกดูดซึมได้ง่าย จึงควรใช้ในที่อากาศแห้ง เพราะจะมีประสิทธิภาพดีที่สุด และใช้ขนาดDose น้อยที่สุด ถ้าใช้ในอากาศชื้นมาก ๆ ต้องใช้ขนาดDose เป็นสองเท่า ถ้าใช้ในน้ำดื่มธรรมดาจากน้ำก๊อก อาจต้องใช้ขนาดมากถึงสิบเท่า
    • การใช้หลอด UV-C ควรระวังไม่ให้ถูกตาและผิวหนังของคนโดยตรง (ถ้าสะท้อนจากผนัง ก็ต้องคอยระวังไม่ให้นานเกินไป)

ลักษณะใช้งานฆ่าเชื้อโรคด้วยหลอดรังสีเหนือม่วง

  1. การฆ่าเชื้อโรคในอากาศ (Air Disinfection) ทำได้ 4 วิธีคือ
    • ติดหลอดUV ไว้บนเพดาน (Ceiling-mounted UV Lamp) รังสีกระจายทั่วไป ใช้ในเวลาปลอดคน
    • ฉายรังสีสู่อากาศด้านบนของห้อง (Upper-Air Irradiation) โดยใช้โคมหันขึ้น ไม่ส่องลงมาสู่ตาคน
    • ฉายรังสีใส่อากาศที่พื้นห้อง (Floor-Zone Irradiation) ด้วยโคมชนิดหันลง เพื่อฉายรังสีใส่อากาศที่พื้น
    • ในท่ออากาศหรือท่อลม (Air-Ducts) เหมาะสำหรับสถานที่มีระบบปรับอากาศ (Air Conditioning System)
  2. ฆ่าเชื้อโรคที่พื้นผิวของวัตถุ (Surface Disinfection) ใช้กับการผลิตอาหารและยา ทั้งโดยตรงหรือภาชนะบรรจุ
  3. ฆ่าเชื้อโรคในของเหลว (Liquid Disinfection) ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม, น้ำผลไม้, น้ำเลี้ยงปลา, น้ำในสระว่ายน้ำ

ประเภทหลอดฆ่าเชื้อโรค

  1. Tubular UVGI ทั้งแบบ Standard และ High-output
  2. Compact Single-ended UVGI หลอดทั้งสองประเภท เป็นหลอดแบบ Low-pressure Mercury-vapour Discharge Technology
  3. High Intensity Discharge Tube เป็นหลอดแบบ Medium-pressure Mercury-vapour มีพลังงานมากกว่า

การประยุกต์ใช้งาน (Applications)

  1. สถานที่สาธารณะ ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากหรืออยู่เป็นเวลานาน เช่น ห้องเรียน, ค่ายทหาร, โรงภาพยนตร์, หอประชุม, ห้องรับรอง, สำนักงาน ฯลฯ ให้ติดตั้งหลอด UVGI ในท่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศ (Air-disinfecting Duct), ท่อปรับสภาพอากาศ (Air-conditioning Duct)
  2. โรงพยาบาล (Hospital) ตึกคนไข้, ห้องตรวจ, ที่พักคอย, ครัว, ที่เก็บเครื่องมือผ่าตัดและอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) ทั้งขั้นตอน ขณะผลิต, บรรจุหีบห่อ, จัดเก็บ หรือส่งสินค้าจำหน่าย
  3. อุตสาหกรรมการผลิตเวชภัณฑ์ (Pharmaceutical Industry) รวมถึง สารปฏิชีวนะ ยา และ เครื่องสำอาง
  4. ห้องครัว (Kitchen) ในตู้เย็น
  5. การป้องกันสัตว์ป่วย (Animal Protection) ใช้กับเรือนปศุสัตว์, คอก, ฟาร์ม, เล้า, กรงขัง รวมไปถึงสวนสัตว์ได้
  6. อุปกรณ์สำหรับการบรรจุหีบห่อ (Packaging Material) และการปิดผนึก (Sealing) 
  7. ห้องทดลอง (Laboratory) และเครื่องมือทดลองต่างๆ 
  8. Water Purification เช่น Drinking Water, Aquarium, Swimming Pools, Supplementing Chlorination

วิธีการจัดส่งสินค้า

บริการจัดส่งสินค้า ทั่วประเทศ ผ่านบริษัท ขนส่ง ฟรี ค่าบริการจัดส่งสินค้าไปยังบริษัทขนส่ง

  • ภาคอีสานและภาคกลาง ผ่าน IT TRANSPORT CO.,LTD. Telephone : 02-1911101-4 , 090-2628646 , 087-6426039
  • ภาคเหนือ ผ่าน บริษัท นิ่มซี่เส็ง สาขา ตลาดไท
  • ภาคใต้ผ่านบริษัท ภูเก็ตศรีสุชาติขนส่ง

ผลิตและจำหน่ายโดย บริษัท ทีที วอเตอร์เทค จำกัด

84 ถ.ไทยรามัญ แขวง สามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กทม. 10510

โทร 062-4193997 080-4774646 02-0091978 Line 0889417826